โบเกะ และ สึกโกมิ ของ มันไซ

โบเกะ และ สึกโกมิ ถือว่าเป็นลักษณะเด่นที่สำคัญของมันไซ ซึ่งสามารถเปรียบเสมือนได้กับการชง-ตบของการแสดงตลกในประเทศไทย คนใสซื่อ (ญี่ปุ่น: ボケ; โรมาจิ: Boke; ทับศัพท์: โบเกะ) มาจากคำกริยา โบเกรุ (ญี่ปุ่น: 惚ける/呆ける; โรมาจิ: Bokeru) ที่มีความหมายว่า "เติบโตอย่างไร้เดียงสา" ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงการตีความที่ผิดพลาดและการลืมสิ่งที่พึ่งพูดออกไปในระยะเวลาอันรวดเร็วของผู้ที่รับบทเป็นโบเกะ และคำว่า สึกโกมิ (ญี่ปุ่น: 突っ込み; โรมาจิ: Tsukkomi) หมายถึงผู้แสดงมันไซที่มีหน้าที่ขัดจังหวะ พูดแทรก หรือแก้ไขข้อมูลที่ไม่ถูกต้องของโบเกะ โดยทั่วไปแล้วสึกโกมิจะตำหนิติเตียนโบเกะ และตีศีรษะด้วยพัดลมกระดาษพับที่เรียก ฮาริเซ็ง (ญี่ปุ่น: 張り扇; โรมาจิ: Harisen)[14] นอกจากนี้ยังมีอุปกรณ์ประกอบการแสดงมันไซอื่น ๆ เช่น กลองเล็กที่มักจะถือและใช้โดยโบเกะ ไม้ไผ่ญี่ปุ่น หรือร่มกระดาษ เป็นต้น[ต้องการอ้างอิง] อุปกรณ์ประกอบการแสดงเหล่านี้จะใช้ในการแสดงมันไซที่ไม่มีความจริงจังเท่านั้น เนื่องจากการแสดงมันไซแบบดั้งเดิมหรือการแข่งขันจะบังคับไม่ให้มีการใช้อุปกรณ์ประกอบการแสดง อีกทั้งยังทำให้การแสดงตลกนี้เป็นเหมือนกับ คนโตะ (การแสดงตลกที่ให้ความสำคัญกับอุปกรณ์และฉากประกอบการแสดง) มากกว่าการแสดงมันไซ[15]

แหล่งที่มา

WikiPedia: มันไซ http://www.csse.monash.edu.au/~jwb/cgi-bin/wwwjdic... http://japanese.about.com/library/blhiraculture31.... http://www.japanfortheuninvited.com/articles/manza... http://kotaku.com/5846764/ni-no-kunis-funny-bone-h... http://www.japantimes.co.jp/culture/2015/07/17/ent... http://www.japantimes.co.jp/text/ft20120525r1.html http://www.city.chita.lg.jp/citypromotion/ https://hajl.athuman.com/karuta/traditionalculture... https://media.netflix.com/en/press-releases/hibana... https://www.netflix.com/tudum/articles/asakusa-kid...